ความรู้เป็นสิ่งที่ชวนให้ค้นหา ศึกษาและติดตามอย่างไม่รู้จบ ความคิดที่ปราศจากอคติและความลำเอียงคือสิ่งที่ตกผลึกจากการค้นหา ศึกษาและติดตามจากความรู้ แล้วนำมาถ่ายทอดบอกเล่าต่อผ่านการสื่อสาร

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กาลามสูตร หรือ เกสปุตตะสูตร ?

        ปัจจุบันมีการประชาสัมพันธ์โดยใช้กลยุทธ์ในทุกๆด้านและทุกๆเครื่องมือในการสื่อสาร เพื่อโน้มน้าวและชักนำให้เกิดการคล้อยตามและยอมรับในความคิดเห็น วิธีการ และการตัดสินใจของตนหรือของกลุ่มของตน เราจึงได้ยินคำว่า กาลามสูตร และ เกสปุตตะสูตร เพิ่มมากขึ้น โดยผู้พูดที่คิดว่าตนเองเป็นผู้รู้ทั้งหลายต่างกล่าวอ้างว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสแก่ชาวนิคมเกสปุตตะ แคว้นกาลมะ ห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง และคิดว่าผู้ที่อยู่ในความไม่หลงงมงายควรปฏิบัติตาม กล่าวคือ
อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา
อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินว่าอย่างนี้
อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา
อย่าได้เชื่อถือโดยเดาเอาเอง
อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน
อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ
อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฏฐิของตน
อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรเชื่อได้
อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้ เป็นครูของเรา 

ทางสายกลาง

เรามักได้ยินคนพูดอยู่เสมอๆ ว่าทำอะไร ให้ทำแต่เพียงพอดีอย่าให้มันสุดโด่งหรือสุดโต่งเกินไปนัก หรือบางคนอาจพูดว่าให้เดินทางสายกลาง ไม่ไปทางซ้ายหรือทางขวามากเกินไป คำพูดต่างๆเหล่านี้บางคนก็พูดต่อๆตามกันมา บางคนก็คิดว่าสิ่งที่ตนพูดออกไปนั้นเหมาะสมถูกต้องแล้ว เพราะทำอะไรในลักษณะกลางๆน่าจะไม่ทำให้เสียหายมาก (และถ้าได้ผลลัพธ์ที่ดีก็อาจจะได้ไม่มากเช่นเดียวกัน) บางคนก็อาจจะอ้างอิงไปถึงการขึงสายพิณว่าถ้าขึงตึงเกินไปก็จะขาด ถ้าขึงหย่อนไปก็ไม่สามารถเล่นพิณนั้นได้ อันเป็นนิมิตที่เกิดแก่พระพุทธองค์ก่อนที่จะออกจากการบำเพ็ญทุกรกิริยาและตรัสรู้ในลำดับต่อมา
                สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการคือ
๑.    ทุกข์       ได้แก่ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจต่างๆ
๒.    สมุทัย     คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓.    นิโรธ     คือการดับทุกข์ให้หมดสิ้นไป
๔.    มรรค      คือข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงการดับทุกข์ มีอยู่ด้วยกัน ๘ ประการหรือเรามักพูดกันติดปากว่า มรรคมีองค์ ๘